Last updated: 16 มิ.ย. 2567 | 538 จำนวนผู้เข้าชม |
1.แบบแปลนบ้าน
2.ใบคำร้อง ข.1
3.สำเนาบัตรประชาชน
4.สำเนาทะเบียนบ้าน
5.สำเนาโฉนด *ขนาดเท่าตัวจริง
6.เอกสารที่เกี่ยวข้องอื่น
6.1 กรณีทะเบียนบ้านรื้อถอนไม่ตรงกับทะเบียนบ้านผู้ขออนุญาตรื้อถอน ต้องมีหนังสือสัญญาเช่า
6.2 กรณีผู้ขออนุญาตรื้อถอนไม่ใช่เจ้าของโฉนด ต้องมีใบยินยอมให้รื้อถอนอาคารในที่ดิน
6.3 กรณีผู้ขออนุญาตรื้อถอนไม่สะดวกมายื่นเรื่องเอง ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ พร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท พร้อมสำเนาบัตรประชาชนและสำเนาทะเบียนบ้าน
6.4 กรณีอาคารเดิมสร้างในลักษณะใช้คานร่วมกับเพื่อนบ้านที่มีแนวโน้มมีผลกระทบต้องมีหนังสือยินยอมให้รื้อถอนอาคารชิดเขตที่ดิน
*เอกสารทุกหน้าต้องมีลายเซ็นกำกับ
7. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรและสถาปนิก
· เอกสาร น.2 หนังสือรับรองของผู้ประกอบการวิชาชีพวิศวะควบคุมหรือสถานปนิกควบคุม
· เอกสาร น.4 หนังสือแสดงควมายินยอมของผู้ควบคุมงาน
· ใบประกอบวิชาชีพ
ลักษณะอาคารที่สถาปนิกและวิศวกรต้องควบคุม
Ø พื้นที่อาคารน้อยกว่า 150 ตรม. เจ้าของบ้านเป็นผู้ควบคุมงาน
Ø พื้นที่มาก 150 ตรม. มีวิศวะควบคุมงาน
ระดับวิศวะ
วิศวกรระดับภาคีควบคุมงานรื้อถอน
อาคารที่มีความสูงไม่เกิน 15 เมตรหรือขนาดไม่เกิน 2,000 ตารางเมตร หรืออาคาร 4 ชั้นออกแบบไม่เกิน 400 ตารางเมตร
วิศวกรระดับสามัญสามารถควบคุมการรื้อถอนได้ไม่จำกัดความสูงและพื้นที่แต่จะไม่สามารถเซ็นรับรองอาคารได้
วิศวกรระดับวุฒิสามารถควบคุมได้ไม่จำกัดความสูงและพื้นที่เช่นเดียวกันสามารถรื้อถอนโดยไม่ต้องขอใบอนุญาตจากเทศบาลหรือสำนักงานเขต
ใบอนุญาตรื้อถอนมีอายุเพียงแค่ 1 ปีเท่านั้นนับจากวันที่ระบุในใบอนุญาตแต่สามารถต่ออายุใบอนุญาตได้เพียง 1 ครั้งรวมเป็น 2 ปี
สำหรับท่านที่ไม่มีเวลา หรือต้องการให้ผู้ชำนาญการอย่างเรา S.E.M. Construction บริษัทรื้อถอนมืออาชีพ เป็นผู้ช่วยในการดำเนินการเรื่องใบอนุญาตรื้อถอน สามารถปรึกษาเราได้ฟรี ที่ โทร 092-430-9777
หรือทักไลน์ คลิ๊ก https://lin.ee/wmHGK6x
8 พ.ย. 2567
17 ก.ค. 2567
28 ส.ค. 2567
14 ส.ค. 2567